6 วิธีปฏิเสธ อย่างมีประสิทธิภาพ

Last updated: 3 พ.ย. 2563  |  918 จำนวนผู้เข้าชม  | 

6 วิธีปฏิเสธอย่างมีประสิทธิภาพ

•6 วิธีปฏิเสธ อย่างมีประสิทธิภาพ•


เคยมีคนกล่าวไว้ว่า...

ความเกรงใจคนอื่นทําให้ “คนอื่นสุขมาก – ตัวเรา สุขน้อย”

ความเกรงใจตัวเองทําให้  “ตัวเราสุขมาก – คนอื่น สุขน้อย”

.

เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การจัดสมดุลย์ นั่นคือ ต้องมีความพอดี!

.

หลายคนเป็นคนประเภท “People Pleasing” คือ ขี้เกรงใจ และรู้สึกผิดมากที่จะต้องปฏิเสธใคร ไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม 

กลัวว่าเค้าจะเสียใจ หรือ รู้สึกแย่กับเรา

 (และแต่ก่อนครูกิ๊ฟก็เป็นคนแบบนี้เหมือนกันค่ะ)

การสำรวจทางจิตวิทยาพบว่า

การตอบรับในขณะที่จิตใจของเราอยู่ในสภาวะที่อยากปฏิเสธ

จะส่งผลให้เกิดภาวะเครียด ปวดหัว ปวดไหล่ ไปจนถึงขั้นนอนไม่หลับ

ผลที่ตามมาก็คือ เราก็จะไม่มีความสุขนั่นเอง

.

เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่พร้อม มันดีกว่ามากๆค่ะ ที่เราจะรู้จักการปฏิเสธบ้าง

แต่การปฏิเสธนั้น ต้องมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อจิตใจในทางบวก ของทั้งเราและผู้ถูกปฏิเสธ

.

วันนี้ครูกิ๊ฟมี 6 วิธีการปฏิเสธ อย่างมีประสิทธิภาพมาแนะนำค่ะ

.

1.กล่าวขอบคุณเพื่อรักษาน้ำใจ

พร้อมบอกเหตุผลที่หนักแน่น กระชับ ชัดเจน จะได้ไม่ดูเป็นข้ออ้าง

เทคนิคนี้แสดงให้เห็นว่าถ้าเรารู้สึกดีที่ถูกเชิญชวน แต่เราไม่สามารถเลี่ยงงาน หรือ ธุระได้จริงๆ โดยให้เน้นคำว่า ขอบคุณ ให้หนักแน่นพอๆกับเหตุผลที่เราต้องปฏิเสธ

ตัวอย่างเช่น : “ขอบคุณมากๆเลยนะคะ ที่นึกถึงกัน แต่ฉันต้องไปทำธุระสำคัญที่ต่างจังหวัดวันนั้นพอดีค่ะ

ยังงัยต้องขอบคุณอีกครั้งนะคะ”




2.ทวนคําปฎิเสธ 

เทคนิคข้อนี้แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจของเรา และสื่อว่าที่ต้องปฏิเสธเพราะมีเหตุจําเป็นจริงๆ

ตัวอย่างเช่น : “เสียดายจังเลยค่ะที่ไม่สามารถร่วมproject นี้ได้ 

ฟังดูแล้วน่าสนุกมาก ฉันเคยคิดเสมอว่าถ้าได้รับโอกาสทำงานแบบนี้ จะรีบคว้าเลย ถ้าไม่ติดว่าตอนนี้งานรัดตัวจริงๆ”




3.ไม่ปฏิเสธโดยสิ้นเชิง แต่แจ้งว่าอีกกี่วันจึงจะทำให้ได้ สามารถรอได้หรือไม่

เทคนิคข้อนี้แสดงให้เห็นว่าเรายินดีช่วย หรือ อยากตอบรับคำชวนเชิญ

แต่ต่อรองขอเป็นวันอื่นหรือ โอกาสอื่นที่ทั้งเราและเขาสะดวก 

(เป็นการหาจุดสมดุลนั่นเอง)

ตัวอย่างเช่น : “ยินดีมากๆเลยค่ะ ที่จะทำงานนี้ แต่อยากขอเคลียร์งานที่ค้างให้เสร็จก่อน

ประมาณหลังวันที่ 10 นี้ คุณสะดวกที่จะมาคุยรายละเอียดอีกครั้งมั้ยคะ”




4.แนะนำถึงผลดีต่อเขา ถ้าเราปฏิเสธ

เทคนิคข้อนี้แสดงให้เห็นว่าเราเป็นห่วงเขา โดยการอธิบายถึงผลประโยชน์ที่เขาจะได้รับ

ตัวอย่างเช่น : “ฉันว่างานนี้ ฉันขอแนะนำคนที่เชี่ยวชาญ และถนัดด้านนี้โดยตรงให้คุณจะดีกว่าค่ะ งานที่ออกมาจะได้มีประสิทธิภาพตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด”




5.ปฏิเสธด้วยจริงใจด้วยน้ำเสียงที่เห็นใจ

เทคนิคข้อนี้แสดงให้เห็นถึงความจริงใจ และไม่โลเลให้เขาต้องเสียเวลา

ในเมื่อเวลาทุกคนมีค่า อย่าให้ความหวังโดยการใช้คำพูดแบ่งรับแบ่งสู้เช่น “อาจจะ ดูก่อน” เพื่อเขาจะได้ไม่ต้องมีความหวัง เพราะการให้ความหวังนั้นทำให้รู้สึกแย่กว่าการปฏิเสธอย่างแน่นอน

ตัวอย่างเช่น “ขอโทษที่ไม่สามารถไปช่วยงานได้นะคะ เข้าใจความรู้สึกคุณเลย ลองสอบถามคนอื่นๆดูนะคะ ฉันเชื่อว่าต้องมีคนที่สะดวกและยินดีช่วยคุณแน่นอนค่ะ”




6.ปฏิเสธแล้วถามกลับ 

หลังจากปฏิเสธแล้ว ให้ถามกลับถึงโอกาสต่อไปทันที 

เทคนิคข้อนี้แสดงให้เห็นถึงถึง

ความใส่ใจและไม่ดูดายในเรื่องนั้นๆ

ตัวอย่างเช่น “project นี้ฉันไม่สะดวกที่จะร่วมงานกับคุณจริงๆ ว่าแต่ปีนี้คุณจะมีงานอีกครั้งเมื่อไหร่ หวังว่าโอกาสหน้าเราจะได้ร่วมงานกันค่ะ”

.

การกล่าวปฏิเสธ ช่วงแรกอาจอึดอัด และรู้สึกผิด

แต่พอเราเข้าใจเหตุและผล รู้จักรัก และเคารพตัวเอง รวมถึงการจัดความสมดุลให้าชีวิต การปฏิเสธ ก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป และสามารถฝึกฝนได้เช่นกัน


#ครูกิ๊ฟคริมา 

#TheReflectionist

•••

ติดต่องาน / สนใจCourse ปรับภาพลักษณ์ และทัศนคติส่วนบุคคล หรือ องค์กร

ติดต่อ

Tel: 0815655549

•••

ติดตามเทคนิคการปรับภาพลักษณ์ ความรู้ข้อคิด ทัศนคติดีๆ และเรื่องราวสนุกๆ จากครูกิ๊ฟได้ที่

Line: @thereflectionist

IG: thereflectionist.image

FB: @TheReflectionist.Image

YouTube: Karima TheReflectionist

www.thereflectionistimage.com

Powered by MakeWebEasy.com